บริการล่าม
Interpretation Services

ความช่วยเหลือของ HA สำหรับผู้ป่วยชนกลุ่มน้อย

บริการล่าม

ในระหว่างเข้ารับการรักษา ผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ขององค์การโรงพยาบาล (HA) อาจจะต้องการใช้บริการล่ามเพื่ออำนวยความสะดวกในการสื่อสารระหว่างกัน  ทั้งผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ขององค์การโรงพยาบาล (HA) อาจขอให้โรงพยาบาลหรือคลินิกที่เกี่ยวข้องจัดหาล่ามสำหรับบริการด้านการดูแลสุขภาพก็ได้  ในกรณีที่ต้องการ องค์การฯ สามารถจัดหาบริการล่ามให้ได้โดยทำเป็นตารางเวลาล่วงหน้าหรือเป็นครั้งคราวเพื่ออำนวยความสะดวกการสื่อสารระหว่างผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ขององค์การโรงพยาบาล (HA) ตามความเหมาะสม  กรณีตัวอย่างที่การให้บริการตามตารางมีความเหมาะสมมากกว่า ได้แก่ กรณีที่ผู้ป่วยซึ่งมีนัดกับคลินิกเฉพาะทางและคลินิกทั่วไป ในขณะที่การให้บริการเป็นครั้งคราวจะเหมาะกับการรับเข้าเป็นผู้ป่วยในระหว่างที่เข้ารับการรักษาฉุกเฉิน

นอกเหนือจากบริการล่ามแล้ว ยังมีเอกสารต่างๆ ที่ได้รับการออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารกับผู้ป่วยอีกด้วย อาทิ บัตรคำตอบมาตรฐาน ใบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยซึ่งประกอบด้วยข้อมูลโรคทั่วไป และแบบฟอร์มการให้ความยินยอม เอกสารเหล่านี้มีให้บริการใน ภาษาจีน อังกฤษ และภาษาอื่น ๆ ซึ่งรวมไปถึง ภาษาอาหรับ บาฮาซาอินโดนีเซีย เบงกอล ฝรั่งเศส เยอรมัน ฮินดี ญี่ปุ่น ปัญจาบ สิงหล สเปน ตากาล็อก ไทย อูรดู และเวียดนาม  ผู้ป่วยสามารถแจ้งภาษาของตนให้กับเจ้าหน้าที่ของ HA โดยเลือกธง / โปสเตอร์ภาษามือของประเทศต้นทางที่แสดงไว้ด้านล่าง

ในปัจจุบัน บริการล่ามแปลภาษาส่วนใหญ่จะให้บริการโดยผู้รับเหมาบริการ ล่ามแปลอิสระสำหรับสำนักงานศาลยุติธรรม (รวมถึง ภาษาจีนท้องถิ่น) สำนักงานสถานฑูต/สถานกงสุลที่เกี่ยวข้อง (ยกเว้นภาษามือ) หรืออาสาสมัครผู้รับเหมาบริการที่มีอยู่โดยให้บริการล่ามแปลภาษาสำหรับ 17 ภาษา (อาหรับ บาฮาซา (อินโดนีเซีย) เบงกอล ฝรั่งเศส เยอรมัน ฮินดี ญี่ปุ่น เกาหลี เนปาลี ปาทาน ปัญจาบ สิงหล สเปน ตากาล็อก ไทย อูรดู และเวียดนาม) รวมถึง ภาษามื


ผู้ป่วยชาติพันธุ์กลุ่มน้อยที่ต้องการใช้บริการนี้สามารถขอรับความอนุเคราะห์ได้จากเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลในสถานการณ์ต่อไปนี้

สถานการณ์ ตัวอย่าง บริการล่าม ที่ติดต่อ
1. ผู้ป่วยมีใบนัดแพทย์/หนังสือส่งต่อผู้ป่วย ใบนัดแพทย์ที่คลินิกทั่วไปและคลินิกเฉพาะทางสำหรับผู้ป่วยนอก

· ทำการนัดล่วงหน้าสำหรับบริการล่ามในสถานที่บริการล่ามทางโทรศัพท์

· สำนักทะเบียนผู้ป่วยนอกทั่วไป

· สำนักทะเบียนผู้ป่วยนอกเฉพาะทาง

· หอ/แผนกผู้ป่วยต่างๆ

2. ผู้ป่วยซึ่งไม่มีใบนัดที่ขอรับบริการในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน/ เคาน์เตอร์ติดต่อสอบถาม การรับเข้าเป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาลในระหว่างเข้ารับการรักษาฉุกเฉิน

· จำเป็นต้องใช้บริการล่ามทางโทรศัพท์ในทันที

· บริการล่ามในสถานที่ในทันที

· สำนักงานทะเบียนแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน

· เคาน์เตอร์ติดต่อสอบถาม

 

รายละเอียดเกี่ยวกับภาษาที่ให้บริการและเวลาการให้บริการของคู่สัญญาบริการมีดังนี้ 

เวลาให้บริการ

วันจันทร์ – วันอาทิตย์ ไม่เว้นวันหยุดราชการ 

(ตั้งแต่เวลา 08.00 – 22.00น.)

วันจันทร์ – วันอาทิตย์ ไม่เว้นวันหยุดราชการ 

(เวลา: 22.01 – 07.59 น.) (ข้ามคืน)

ประเภทของบริการ

บริการล่ามในสถานที่/ บริการล่ามทางโทรศัพท์

บริการล่ามทางโทรศัพท์
ภาษาที่ให้บริการ อาหรับ / บาฮาซา (อินโดนีเซีย) / เบงกอล / ฝรั่งเศส / เยออรมัน / ฮินดี / ญี่ปุ่น / เกาหลี / เนปาล / ปาทาน / ปัญจาบ / สิงหล / สเปน / ตากาล็อก / ไทย / อูรดู / เวียดนาม
ภาษามือ
บาฮาซา (อินโดนีเซีย) / เบงกอล / ฮินดี / เนปาล / ปัญจาบ / ตากาล็อก (ฟิลิปปินส์) / ไทย / เวียดนาม / อูรดู
 

นอกจากนั้น องค์การโรงพยาบาลยังได้จัดเตรียมเอกสาร และข้อมูลเอกสารต่อไปนี้ไว้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล และผู้ป่วยหลากหลายเชื้อชาติเพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดทำทะเบียน และให้บริการต่าง ๆ ดังนี้:

  • บัตรคำตอบมาตรฐาน
  • ข้อมูลเกี่ยวกับโรคทั่วไป (เช่น อาการปวดหัว เจ็บหน้าอก และอาการไข้)
  • ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการรักษา (เช่น ประเด็นด้านความปลอดภัยในการถ่ายเลือดและการบำบัดด้วยการฉายรังสี)
  • บริการของ HA (เช่น ค่ารักษา และค่าบริการ ระบบการคัดแยกผู้ป่วยของแผนกอุบัติเหตุ และฉุกเฉิน

การจัดเตรียมอาหารสำหรับผู้ป่วยใน

ผู้ป่วยในสามารถทำคำร้องต่อเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลให้จัดเตรียมอาหารฮาลาลหรืออาหารมังสะวิรัตได้หากจำเป็น ทั้งนี้อยู่ภายใต้เงื่อนไขความเจ็บป่วยของผู้ป่วยในผู้นั้น

ในกรณีที่มีความไม่สอดคล้องกันหรือความคลุมเครือระหว่างเนื้อหาภาษาอังกฤษและภาษาไทย ให้เนื้อหาภาษาอังกฤษมีผลใช้บังคับ

ปรับปรุงล่าสุด: 06/2023